CWIE Platform
แนวคิดในการพัฒนา CWIE Platform
            การพัฒนา CWIE Platform หรือ Manpower Demand Driven Education Platform for Employability and Career Development through Cooperative and Work Integrated Education (CWIE) : University - Workplace Engagement ถือเป็นหัวใจของการขับเคลื่อน CWIE ตามเป้าหมายที่กำหนด 4 ประการ คือ 1) ส่งเสริมผลิตกำลังคนในสาขาวิชาและสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงานและการพัฒนาประเทศ (Manpower Demand Driven) 2) ตอบสนองนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนของประเทศ 3) ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการจัด CWIE และ 4) สร้างการมีงานทำและการพัฒนาเส้นทางอาชีพให้นักศึกษา CWIE Platform ริเริ่มจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและได้รับความเห็นชอบร่วมกันจากจตุภาคี อันประกอบด้วยสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีกระบวนการสำคัญ 5 กระบวนการ ได้แก่ 1) Information 2) Matching 3) Co-designing and Implementation 4) Assessment and development และ 5) Outreach Activities 



แนวทางและกระบวนการจัดหลักสูตร CWIE การจัดหลักสูตร CWIE อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน จะต้องดำเนินการตามแพลตฟอร์ม Manpower Demand Driven Education Platform for Employability and Career Development through Cooperative and Work Integrated Education (CWIE): University - Workplace Engagement ซึ่งมีกระบวนการสำคัญ 5 กระบวนการ ขับเคลื่อนภายใต้ความร่วมมือแบบจตุภาคี (สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงาน ภาครัฐ/เอกชน และชุมชนท้องถิ่น) ดังนี้ 
  1. Information เป็นการให้ข้อมูลเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ตรงกันของผู้เรียน สถาบันอุดมศึกษาและสถานประกอบการ เกี่ยวกับแนวคิด มาตรฐาน การบริหารจัดการและประโยชน์ของ CWIE โดยมุ่งหวังให้เกิดอุดมการณ์ร่วมและขยายผลไปสู่การเพิ่มปริมาณและมาตรฐานการผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะ และตรงตามความต้องการของผู้เรียนและผู้จ้าง 
  2. Matching เป็นการสร้างเวทีจับคู่ความร่วมมือระหว่าง Demand และ Supply โดยผ่าน ฐานข้อมูล CWIE ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาและค้นหาข้อมูลซึ่งกันและกันผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ข้อมูลหลักสูตร จำนวนผู้เรียน สถานที่ ปฏิบัติงาน ตำแหน่งงาน สมรรถนะที่จะร่วมผลิต ค่าตอบแทน/สวัสดิการที่ผู้เรียนจะได้รับ รวมทั้งติดตามภาวะ การมีงานทำของบัณฑิต ซึ่งเป็นฐานข้อมูลกลางและเป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อประโยชน์เชิงนโยบาย
  3. Co-designing and Implementation หัวใจสำคัญของ CWIE คือ สมรรถนะของผู้เรียน เมื่อจับคู่ความร่วมมือแล้ว ทั้งสองฝ่ายจะต้องร่วมกันออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนและผลลัพธ์ผู้เรียน ในรูปของสมรรถนะและระบบบริหารจัดการ บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย เช่น การเตรียมความพร้อม ผู้เรียน ก่อนไปปฏิบัติงาน ระบบคณาจารย์นิเทศ ระบบผู้นิเทศในสถานประกอบการ ระบบประเมินสมรรถนะ ระบบ ค่าตอบแทน สวัสดิการ ความปลอดภัย เป็นต้น 
  4. Assessment and development เป็นการสอบทาน การประเมินผลลัพธ์ผู้เรียนหรือสมรรถนะ ผู้เรียน รวมทั้งระบบบริหารจัดการ ปัญหาอุปสรรค เพื่อการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาตามวงจรคุณภาพ PDCA 
  5. Outreach Activities เป็นการต่อยอดและยกระดับ CWIE เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับผู้เรียน สถาบันอุดมศึกษาและสถานประกอบการ เช่น การพัฒนาอาชีพแห่งอนาคต (Career for the Future) การจัด International CWIE การยกระดับผู้เรียนเป็นผู้ประกอบการ การยกระดับสถานประกอบการด้วยการวิจัยเชิงลึก ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา เป็นต้น ทั้งนี้ การจัด CWIE ต้องอยู่ภายใต้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรและมีกระบวนการดำเนินการตามแพลตฟอร์ม (Platform) Manpower Demand Driven Education Platform for Employability and Career Development through Cooperative and Work Integrated Education (CWIE): University-Workplace Engagement