โครงการ CWIE+EEC Model Type A Master Class

            สป.อว. มีนโยบายส่งเสริมสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education :CWIE) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ EEC จัดหลักสูตรในรูปแบบ EEC Model Type A เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนในพื้นที่ EEC จำนวน 475,688 อัตรา โดยมีความต้องการกำลังคนในระดับปริญญาตรี 214,070 อัตรา ปริญญาโท/เอก 8,610 อัตรา เพื่อรองรับ 10 อุตสาหกรรมส่งเสริม และ 3 กลุ่มอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐาน (ข้อมูล ณ วันที่ 10 ก.ย. 2567)

            โดยในปีงบประมาณ 2565 สป.อว. ได้ร่วมกับ EEC ดำเนินโครงการปฏิรูปการศึกษาพัฒนาการจัดการศึกษาในรูปแบบสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานเพื่อรองรับความต้องการของตลาดงาน เพื่อสร้างโมเดลในการจัดหลักสูตร CWIE และ EEC Model Type A เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่และนอกพื้นที่ EEC นำไปใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินการจัดทำหลักสูตรดังกล่าว โดยสามารถสร้างหลักสูตรตามแนวทาง Demand Driven Education จำนวน 7 หลักสูตร และมีนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 43 คน ที่ไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการในพื้นที่ EEC จำนวน 44 แห่ง รวมทั้งกระบวนการ Master Class ที่มี Mentors เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาหลักสูตรร่วมผลิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสถานประกอบการ ให้เกิดการสร้างความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อผลิตกำลังคนตามความต้องการของตลาดงานในพื้นที่ EEC

            ปีงบประมาณ 2566 สป.อว. ดำเนินโครงการเร่งรัดและขยายผลการจัดหลักสูตรพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง CWIE+EEC Model Type A (CWIE+EEC Model Type A Master Class) ในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขยายผลการดำเนินงานโครงการจากปี 2565 โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มจำนวนหลักสูตร CWIE และ EEC Model Type A เป็น 2 เท่า ซึ่งผลการดำเนินงานสามารถสร้างหลักสูตรตามแนวทางดังกล่าว จำนวน 19 หลักสูตร และมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ จำนวน 156 คน โดยไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการในพื้นที่ EEC จำนวน 44 แห่ง และในปีงบประมาณ 2567 ดำเนินโครงการเร่งรัดและขยายผลการจัดหลักสูตรพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง CWIE+EEC Model Type A (CWIE+EEC Model Type A Master Class) ในสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 256ซึ่งผลการดำเนินงานสามารถสร้างหลักสูตรตามแนวทางดังกล่าว จำนวน 33 หลักสูตร และมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ จำนวน 161 คน โดยไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการในพื้นที่ EEC จำนวน 47 แห่ง

ในปีงบประมาณ 2568 สป.อว. มีแผนที่จะเร่งรัดและขยายผลการดำเนินงานโครงการจากปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง โดยขยายผลความสำเร็จจากหลักสูตรที่ผ่านกระบวนการ Master Class เป็น Mentors กลุ่มใหม่ที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้สถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการแห่งใหม่ ได้เรียนรู้กระบวนการในการจัดหลักสูตรร่วมผลิตกับสถานประกอบการ รวมทั้งการเพิ่มระดับความเข้มข้นในการทำงานกับอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ EEC เพื่อปรับเปลี่ยนการดำเนินการของหลักสูตรเป้าหมายให้มีความสามารถในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตามความต้องการตามกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยมุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนควบคู่กับการสร้างมาตรฐานการดำเนินงานระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสถานประกอบการอย่างเป็นระบบให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมได้อย่างแท้จริง